การให้การสงเคราะห์

 การสงเคราะห์ค่ารักษาพยาบาล 

ให้แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตร
ประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑
     ๑. ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และครอบครัว ครอบครัวละปีละไม่เกิน ๓,๕๐๐
         บาท
     ๒. ผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ คนละปีละไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาท
หลักฐาน
      - บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ หรือผู้ถือบัตรประจำครอบครัวทหารผ่านศึก
        บัตรชั้นที่๑
      - ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง พร้อมใบสรุปหน้างบค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลของทาง
         ราชการ หรือโรงพยาบาลเอกชน
      - ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
      - กรณีเบิกให้ครอบครัว ต้องนำหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
          ก. มารดา ใช้ทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึกและทะเบียนบ้านของมารดา
          ข. บิดา ใช้ทะเบียนสมรสของบิดาและมารดาทหารผ่านศึก
          ค. ภรรยา ใช้ทะเบียนสมรสของทหารผ่านศึกและภรรยา
          ง. บุตร ใช้ทะเบียนสมรสของทหารผ่านศึกและภรรยา พร้อมสูติบัตรบุตรหรือสำเนา
              ทะเบียนบ้านที่มีชื่อบุตร
       - ในกรณีที่ไม่สามารถมาดำเนินการได้ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจตาม แบบที่ กำหนด
       - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
คำแนะนำ
ในการทำเรื่องมอบอำนาจการเบิกค่ารักษาพยาบาล
เอกสารประกอบในการยื่นเรื่องมอบอำนาจ
*** หลักฐานของผู้มอบอำนาจ (ทหารผ่านศึก) ***
๑. สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกฯ (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
(เอกสารทุกฉบับลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย
*** หลักฐานของผู้รับมอบอำนาจ ***
๑. สำเนาบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน (นำเอกสารฉบับจริงมาด้วย)
(เอกสารทุกฉบับลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย)
หากเป็นการเบิกส่วนเกินสิทธิค่ารักษา ฯ ภายหลังการเบิกจากหน่วยราชการอื่น ซึ่งพิจารณาจ่าย
แล้วต้องให้เจ้าหน้าที่ อผศ. ตรวจเอกสารจากหน่วยราชการนั้น ก่อนเขียนคำร้องขอมอบอำนาจฯ
เงินช่วยเหลือครั้งคราว

  ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัว
ทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ ที่ยากจน ขัดสน ซึ่งมีเหตุจำเป็นและความเดือดร้อนเฉพาะหน้า คนละปีละ
ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จะให้การสงเคราะห์กรณีจำเป็น และ
เดือดร้อนเฉพาะหน้า ดังต่อไปนี้
     ๑. เจ็บป่วย เป็นเหตุให้ต้องหยุดประกอบอาชีพ เกิน ๑๕ วัน ขึ้นไป โดยที่นักสังคม
         สงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ให้การสงเคราะห์ไปเยี่ยมถึงที่พักอาศัยพบว่าเป็นจริง หรือมี
         ใบรับรองแพทย์มาแสดงก็ให้การสงเคราะห์ได้
     ๒. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือมีความเดือดร้อนเฉพาะหน้า จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้
         ตามปกติได้โดยที่นักสังคมสงเคราะห์พิจารณาเห็นสมควร
     ๓. เดือดร้อนเกี่ยวกับค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือย้ายไปประกอบอาชีพในสถานที่
         แห่งอื่น
     ๔. ต้องมิใช่ผู้มีรายได้ประจำ หรือต้องไม่ได้รับบำนาญ เบี้ยหวัด เงินเดือน หรือค่าจ้างจาก
          ทางราชการรัฐวิสาหกิจ และ อผศ. ยกเว้นผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ที่ไม่
          เป็นพนักงาน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และพนักงาน อผศ.
การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือครั้งคราว ผู้ขอรับการสงเคราะห์จะต้องมาเขียนคำร้องด้วยตนเอง
เนื่องจากเป็นเงินสงเคราะห์ที่ให้เมื่อมีเหตุเดือดร้อน จำเป็น เจ้าหน้าที่จะพิจารณาให้การช่วยเหลือ
ตามเหตุความเดือดร้อนจำเป็นเฉพาะหน้า แต่ไม่เกินวงเงินที่กำหนด มิใช่เป็นเงินสิทธิดังเช่น
เงินเบี้ยหวัด บำนาญ หรือเงินเดือน  
การสงเคราะห์ค่าประสบภัย

        ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงคราม หรือในการรบหรือ
ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจลตามที่กระทรวง
กลาโหม หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัวทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร
และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ ๑ (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)
จะได้รับการสงเคราะห์ ดังนี้
       ๑. ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ ผู้รับการสงเคราะห์ต้องเป็นเจ้าบ้าน ถ้าได้รับความเสียหาย
บางส่วนจะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ถ้าเสียหายทั้งหลังจะ
ได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
       ๒. พืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง อาคารสถานที่ หรือเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพ
ตามที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกกำหนด ผู้รับการสงเคราะห์ต้องเป็นผู้ดำเนินการและเป็น
เจ้าของที่ดินหรือมีสัญญาเช่าที่ดินในการประกอบอาชีพ จะได้รับการสงเคราะห์เท่้าที่เสียหายจริง
รายละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท

     หลักฐาน
     - คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หรือบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ หรือบัตรประจำตัวครอบ-
       ครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)
     - สำเนาทะเบียนบ้าน
     - หนังสือรับรองความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (หนังสือรับรอง)
     - รูปถ่ายความเสียหายของบ้าน หรือพืชผลทางการเกษตร
     - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
การสงเคราะห์ค่าประสบภัย

   ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือ
ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวง
กลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัว ทหารผ่านศึกที่ได้รับพระราชทานเครื่อง
อิสริยาภรณ์หรือเหรียญซึ่งมีสิทธิจะทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ ทหารผ่านศึก
นอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ สำหรับ
บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เว้นบุตรที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการ
ประกอบอาชีพ ให้ได้รับการสงเคราะห์จ่ายเพียงครั้งเดียวคนละ ๑๕,๐๐๐ บาท ต้องยื่นคำร้อง
ภายในเวลา ๑ ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพ ทราบการถึงแก่
ความตาย
     หลักฐาน
          - คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ หรือบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ หรือผู้ถือบัตร
            ประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) หรือ
            หลักฐานการได้รับพระราชทานเหรียญ (สำเนาราชกิจจานุเบกษาพร้อมบัตร หรือ
            บัตรประจำตัวประชาชน)
          - มรณบัตร
          - หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (กสก.๑) จากทางวัด หรือใบสำคัญการสมรส
            (กรณีภรรยา)
          - สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้ตายและผู้รับเงิน)
          - บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ (ของผู้รับเงิน)

การสงเคราะห์ค่าการศึกษา
๑. ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ สามีหรือภริยาของทหารผ่านศึกนอกประจำการ
บัตรชั้นที่ ๑ บุตรของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ สามีหรือภริยา ผู้ได้รับบัตรประจำ
ตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ บุตรผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกชั้นที่ ๑ และ
บุตรของทหารผ่านศึกที่มีสิทธิจะได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการชั้นที่ ๑ แต่ยัง
ไม่ได้รับ จะได้รับการสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
         ๑.๑ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์ การศึกษา และอื่นๆ
ที่จำเป็นเท่าที่จ่ายไปจริง หรือเห็นเป็นการสมควร
         ๑.๒ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกายตามแบบที่โรงเรียนกำหนด
         ๑.๓ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่ออาหารเฉพาะวันที่เข้าเรียน
         ๑.๔ นักเรียนที่เข้าอยู่ในโรงเรียนประจำจะได้รับการสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกาย และค่า
อาหารเพิ่มเติมจากข้อ ๑ ตามอัตราการสงเคราะห์ที่กำหนดในแต่ละระดับชั้นเรียน
         ๑.๕ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ จะได้รับการสงเคราะห์การศึกษาจนจบ
ระดับปริญญาตรีนอกประเทศ โดยจ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง
ค่าอุปกรณ์การศึกษา และือื่นๆ คนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท แบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละ ๓,๐๐๐ บาท
     ๒. ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓ และ ๔ จะได้รับการสงเคราะห์การศึกษา
จนจบระดับปริญญาตรีทั้งในและนอกประเทศ โดยจ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม
ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์การศึกษา และืื่ือื่นๆ คนละไม่เกิน ๑๒,๐๐๐ บาท แบ่งจ่ายเป็นรายปีๆ
ละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท
     ๓. สงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓ และ ๔
เพื่อศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จนจบปริญญาตรีในประเทศคนละ
๑๐,๐๐๐ บาท ต่อปีการศึกษาโดยการสอบคัดเลือกตามจำนวนทุนที่องค์การสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึกกำหนดในแต่ละปี
     ๔. จ่ายเงินสงเคราะห์การศึกษาแก่บุตรของทหารผ่านศึก ที่กำลังกระทำหน้าที่ในการ
สงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ
ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปราม
จลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
           ๔.๑ จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาลและค่าธรรมเนียม
การเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรไม่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ
เทียบเท่า
           ๔.๒ การจ่ายเงินช่วยเหลือตามข้อ ๔.๑ จะให้การสงเคราะห์ในกรณีที่ทางราชการไม่
ช่วยเหลือตามอัตราที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
           ๔.๓ บุตรหทารผ่านศึกผู้มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ ต้องมีอายุไม่เกิน ๒๐ ปี บริบูรณ์
      ๕. ทุนการศึกษา
           ๕.๑ อผศ. ให้การสงเคราะห์เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหารผ่านศึกนอกประจำการ
บัตรชั้นที่ ๒ บัตรชั้นที่ ๓ และบัตรชั้นที่ ๔ เพื่ิอศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ
เทียบเทียบเท่า จนจบปริญญาตรีในประเทศ ในวงเงินทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อปีการศึุกษา โดย
การสอบชิงทุน (อผศ. เริ่มให้ทุนการศึกษาตั้นแต่ พ.ศ.๒๕๐๙)
           ๕.๒ เงินทุนบริจาค นอกจาก อผศ. จะดำเนินการช่วยเหลือด้านเิงิืนทุนการศึกษาแก่
บุตรทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการตามข้อบังคับของ อผศ. แล้ว ยังมีหน่วยงานและ
เอกชนบริจาคเงินทุนการศึกษา
   หลักฐาน
(ที่ต้องนำมาแสดงในการขอรับการสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑)
     ๑. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ หรือบัตรครอบครัวทหารผ่านศึก
         บัตรชั้นที่ ๑
     ๒. สำเนาทะเบียนสมรส
     ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
     ๔. หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนและนักศึกษา
     ๕. ระเบียบการของโรงเรียน
      ๖. ต้องยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นไม่เกินปีการศึกษาถัดไป
 หลักฐาน
 (ที่ต้องนำมาแสดงในการขอรับการสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๒, ๓, ๔)
      ๑. บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
      ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน
      ๓. หนังสือรับรองการเป็นนักเรียนและนักศึกษา (กสก.๒)
      ๔. ระเบียบการของโรงเรียน
      ๕. ต้องยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นไม่เกินปีการศึกษาถัดไป
  หลักฐาน (เพิ่มเติมแล้วแต่กรณี)
       ๑. การขอรับการสงเคราะห์การศึกษาของบุตร
           - สำเนาสูติบัตรของบุตร
       ๒. ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษา
           - ใบเสร็จรับเงิน
           - ใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการ (กรณีโรงเรียนเอกชน)
       ๓. ค่าอุปกรณ์, เครื่องแต่งกาย และค่าอยู่ในโรงเรียนประจำ
           - หนังสือรับรองผลการศึกษาและความประพฤติ (กสก.๓)
       ๔. ค่าอาหาร
            - หนังสือรับรองเวลาเรียน (กสก.๔)
       ๕. ทุนการศึกษา (กสก.๗)
            - สูติบัตรของบุตร
            - สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ, ชื่อสกุล ในกรณีชื่อหรือชื่อสกุลไม่ตรงกับหลักฐาน
              ที่ใช้
            - หนังสือรับรองความเห็นแพทย์ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของทางราชการ
การสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร
  ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกหญิงหรือภริยาของทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการ
สงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ
ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการ
จลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด คราวละ ๒,๐๐๐ บาท ต้องยื่น
คำร้องภายในระยะเวลา ๖ เดือน นับแต่วันคลอด
     หลักฐาน
     - บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน
     - ใบสำัคัญการสมรส
     - สูติบัตร
     - สำเนาทะเบียนบ้่านของผู้รับการสงเคราะห์, ภรรยาและบุตร
     - หนังสือรับรองผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
     - คำสั่งให้เจ้าหน้าที่พ้นจากหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ราชการ

การสงเคราะห์เยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ ฯ


 จ่ายเงินเยี่ยมเยียนช่วยเหลือทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการกระทำหน้าที่
ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือ
ความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบ
ปรามการจลาจลตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ที่เข้ารักษาตัวใน
โรงพยาบาล คนละ ๑,๐๐๐ บาท
การสงเคราะห์เยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกและครอบครัวเป็นครั้งคราว
จ่ายเงินเยี่ยมเยียน ช่วยเหลือทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือ
ทหารนอกประจำการเป็นครั้งคราว ตามที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
เห็นสมควร ในวงเงินคนละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และอาจจัดสิ่งของเยี่ยมเยียน
ตามความเหมาะสม

การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือแ่ก่ทายาท

ให้การสงเคราะห์แ่ก่ทายาทของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑ ที่พิการทุพพลภาพ
หรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ และได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือน เมื่อถึงแก่ความตายให้จ่ายเงิน
ช่วยเหลือแก่ทายาทเพียงครั้งเดียว ซึ่งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจะหักเงินเท่ากับเงินเลี้ยง
ชีพพิเศษที่ทหารผ่านศึกได้รับไปแล้วถ้าหากมีเสียก่อน ดังนี้
      ๑. ผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทเป็นจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
      ๒. ผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทเป็นจำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่น
          สองพันเจ็ดร้อยบาท
   ทายาทผู้มีสิทธิประกอบด้วย
       - บุตรและให้หมายความรวมถึงบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วย
       - สามีหรือภรรยา
       - บิดามารดา
    หลักฐาน
       - สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
       - สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ ๑
       - หลักฐานเกี่ยวกับการตายของตัวทหารผ่านศึก เช่น มรณบัตร หรือ คำสั่งศาลสำหรับผู้ที่
         ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
       - หนังสือรับรองการรับเงินบำนาญพิเศษ
     ๑. หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นทายาทของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
         ๑.๑ หลักฐานเกี่ยวกับบิดามารดา
               ๑.๑.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ ของบิดา
                        มารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่)
               ๑.๑.๒ สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่) หรือมรณบัตร หรือ
                        หนังสือรับรองการตายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กรณีที่ได้ตายไปก่อนแล้ว
               ๑.๑.๓ หลักฐานการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
                        ๑.๑.๓.๑ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือ
                        ๑.๑.๓.๒ หนังสือรับรองของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ ที่รับรองว่าบิดามารดา ได้
                                     สมรสก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ หรือ
                        ๑.๑.๓.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดา มารดา เดียวกัน
                                     กับตัวทหารผ่านศึกผู้ตาย ซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ.๒๔๗๘ หรือ
                                     ก่อนนั้น
         ๑.๒ หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรส ได้แ่ก่
               ๑.๒.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้
               ๑.๒.๒ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรส
               ๑.๒.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน
               ๑.๒.๔ สำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย กรณีคู่สมรสได้ตายไปก่อนแล้ว
               ๑.๒.๕ สำเนาทะเบียนการอย่า หรือใบสำคัญการอย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการ
                         อย่า
         ๑.๓ หลักฐานเกี่ยวกับบุตร
               ๑.๓.๑ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะผู้ที่มีอายุ
                        ถึงเกณฑ์ต้องทำบัตร)
               ๑.๓.๒ สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
               ๑.๓.๓ ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือสำเนาทะเบียน
                         การรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร
               ๑.๓.๔ สำเนามรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ กรณีที่มี
                         บุตรตาย
               ๑.๓.๕ ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ตัวทหารผ่านศึกผู้ตายได้จดทะเบียนรับ
                         เป็นบุตรบุญธรรม ก่อนการเป็นทหารผ่านศึก

ความคิดเห็น

  1. ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกที่กำลังกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือ
    ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
    ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวง
    กลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดและครอบครัว ทหารผ่านศึกที่ได้รับพระราชทานเครื่อง
    อิสริยาภรณ์หรือเหรียญซึ่งมีสิทธิจะทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ ทหารผ่านศึก
    นอกประจำการทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ ๑ สำหรับ
    บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เว้นบุตรที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการ
    ประกอบอาชีพ ให้ได้รับการสงเคราะห์จ่ายเพียงครั้งเดียวคนละ ๑๕,๐๐๐ บาท ต้องยื่นคำร้อง
    ภายในเวลา ๑ ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพ ทราบการถึงแก่
    ความตาย

    ยื่นเรื่องกี่วันได้รับเงินคับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตรวจสอบหลักทรัพย์ที่ดินทำกินทหารผ่านศึก

ฝึกทบทวนเจ้าหน้าที่ รปภ.สปภ.อผศ.